โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

1000 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
วิทยาการทางการแพทย์ของประเทศไทยในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ค่าอายุเฉลี่ยของคนไทยค่อย ๆ สูงขึ้นจนรู้ตัวอีกทีประเทศไทยก็กำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุกันอย่างเต็มตัว และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการพูดถึงผู้สูงอายุก็มักจะทำให้นึกถึงสิ่งที่มาพร้อมกับความแก่เฒ่า นั่นก็คือเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่พบในผู้สูงอายุได้บ่อยเป็นอับดับต้น ๆ ของโรคผู้สูงอายุทั้งหมด โดยอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมคือการอักเสบและมีความรู้สึกเจ็บปวดตรงบริเวณหัวเข่า ถ้าหากปล่อยไว้นานอาการเจ็บก็จะยิ่งรุนแรงและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุได้ ว่าแล้ววันนี้เราก็จะมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมว่าเกิดขึ้นเพราะอะไรและจะมีวิธีดูแลได้อย่างไรบ้าง

อาการข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร?
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการที่กระดูกอ่อนที่อยู่ระหว่างข้อเข่าซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับแรงกระแทกมีการเสื่อมสภาพลง เพราะอย่างที่รู้กันหัวเข่าเป็นอวัยวะส่วนที่ต้องรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบนเมื่อมันต้องทำหน้าที่นานวันเข้า จึงเป็นธรรมดาที่จะมีการสึกหรอจนไม่สามารถรองรับการเสียดสีของกระดูกข้อเข่าได้

วิธีดูแลป้องกันไม่ให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อม
สำหรับวิธีดูแลป้องกันไม่ให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อม อย่างแรกเลยก็คือเราจะต้องตระหนักก่อนว่าตอนนี้เราอยู่ในวัยที่ควรต้องเริ่มดูแลรักษากระดูกของเราแล้ว จากนั้นจึงเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตโดยเฉพาะเรื่องของการทานอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกาย โดยเราอาจจะเริ่มออกกำลังกายซัก 4-5 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เพื่อเป็นการกระตุ้นเพิ่มมวลกระดูกให้มากขึ้นและเสริมสร้างความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อ ซึ่งวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องคือควรออกกำลังกายตามกำลังที่ทำได้ แต่ต้องทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง โดยค่อย ๆ เริ่มทีละนิดจาก วันละ 15-20 นาที ค่อย ๆ เพิ่มเป็นวันละ 30-40 นาที เพียงเท่านี้ก็จะสามารถดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ได้ในระดับหนึ่งแล้ว

อาหารเสริมกับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
ถึงแม้ว่าเราจะเป็นคนที่หมั่นดูแลสุขภาพ ทั้งออกกำลังกายและกินอาหารที่มีประโยชน์กับกระดูกอยู่เป็นประจำ แต่เชื่อหรือไม่ว่าในบางกรณี การดูแลทั้งหมดนี่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันตัวเองจากโรคข้อเข่าเสื่อมได้ เหตุผลก็เพราะเมื่อเรามีอายุมากขึ้นร่างกายจะค่อย ๆ สูญเสียมวลกระดูกไปทีละน้อย ซึ่งถ้าหากว่าเราไม่อยากสูญเสียมวลกระดูกไปร่างกายของเราจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมจำนวนมากมาทดแทน เพราะอย่างที่รู้กันว่าแคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ทำหน้าที่เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ยิ่งไปกว่านั้นหากร่างกายของเราได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอร่างกายจะเริ่มดึงเอาแคลเซียม จากกระดูกของเราออกมาใช้ซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่จะทำให้มวลกระดูกของเราลดลง ดังนั้นการเสริมแคลเซียมให้กับร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็น ไม่เพียงเท่านั้นผลร้ายอีกอย่างจากการที่เรามีอายุมากขึ้นคือการที่ร่างกายจะผลิตคอลลาเจนได้น้อยลง ซึ่งคอลลาเจนนั้นเป็นตัวการสำคัญที่จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูกอ่อนระหว่างข้อต่อ ดังนั้นเพื่อที่จะรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้ได้ผล เราจำเป็นต้องทานอาหารเสริมทดแทนจำพวกแคลเซียมและคอลลาเจนเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

หลายคนอาจมีคำถามว่าเราจำเป็นต้องทานอาหารเสริมด้วยหรือ? ถ้าเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์แทนได้ไหม คำตอบก็คือทำได้แต่ยาก ยกตัวอย่างง่าย ๆ ผู้ใหญ่วัย 50 ปี ขึ้นไป ร่างกายจะต้องการแคลเซียมวันละ 1,200 มิลลิกรัม เพื่อรักษาสมดุลของมวลกระดูกเอาไว้ แต่แคลเซียม 1,200 มิลลิกรัม นั้นเทียบเท่ากับการดื่มนมวัววันละ 1 ลิตร ลองคิดดูว่าถ้าจะให้คนแก่มาดื่มนมวัววันละ 1 ลิตรทุกวันก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นอาหารเสริมที่มีแคลเซียมสูงจึงเป็นทางออกที่ง่ายและเหมาะสมมากกว่า เช่นเดียวกันกับการเสริมคอลลาเจน เพราะอย่างที่บอกไปว่าคอลลาเจนนั้นเป็นสารที่ร่างกายสามารถผลิตได้เอง แต่ผลิตได้น้อยและจะน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ดังนั้นถ้าหากจะเลือกทานอาหารที่มีคอลลาเจนเพื่อทดแทนส่วนที่ขาดไป ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทานกันมากขนาดไหน   

สิ่งที่ต้องระวังเมื่อมีอาการข้อเข่าเสื่อม
สิ่งที่ต้องระวังเมื่อมีอาการข้อเข่าเสื่อมมีอยู่ 2 อย่างคือ

  1. การเคลื่อนไหวขยับร่างกาย
    อย่างที่รู้กันว่าเข่านั้นเป็นส่วนที่ต้องรับภาระจากร่างกายส่วนบน ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่สร้างภาระให้กับหัวเข่าอย่างรุนแรง เช่น การกระโดดลงจากที่สูง หรือการวิ่งแล้วเบรกอย่างฉับพลันเป็นต้น 
  2. การรับประทานอาหาร
    ในเมื่อมีอาหารที่ส่งผลดีต่อข้อเข่า ก็ย่อมต้องมีอาหารที่ส่งผลเสียต่อข้อเข่าเช่นกัน ดังนั้นสำหรับคนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมการจะรับประทานอาหารอะไรซักอย่างก็ต้องระวังตัวให้ดี โดยอาหารที่ถือเป็นของแสลงสำหรับคนเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมก็อย่างเช่น อาหารที่มีโซเดียมสูงเนื่องจากโซเดียมจะทำให้เซลล์เก็บน้ำไว้มากเกินไปจนร่างกายเกิดอาการบวมน้ำ และทำให้ข้อเข่าต้องรับภาระมากขึ้น หรืออาหารที่กระตุ้นให้อาการอักเสบของข้อเข่ารุนแรงขึ้น เช่น น้ำตาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ อาหารที่ปรุงโดยการทอดเป็นต้น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้