น้ำมันกระเทียมสกัดเย็น

3681 จำนวนผู้เข้าชม  | 

น้ำมันกระเทียมสกัดเย็น

น้ำมันกระเทียม

กระเทียมมี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum L. จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีหัวลักษณะเป็นทรงกระเปาะอยู่ใต้ดินเช่นเดียวกับหัวหอม นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงประกอบอาหาร กระเทียมเป็นพืชที่ค่อนข้างแตกต่างจากพืชทั่วไป เพราะอุดมไปด้วยกำมะถันหรือซัลเฟอร์ในปริมาณมาก นอกจากนี้กระเทียมประกอบไปด้วยสารอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น อาร์จีนีน โอลิโกแซ็คคาไรด์  ฟลาโวนอยด์ และซีลีเนียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และยังมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเป็นผลมาจากสารอัลลิซิน (Allicin) นอกจากจะทำมีกลิ่นที่โดดเด่นแล้ว อัลลิซินยังเป็นสารออกฤทธิ์หลักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และอาจมีส่วนช่วยรักษาโรคหรือทำให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้น หลายคนเชื่อว่าการรับประทานกระเทียมอาจช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิต คอเลสเตอรอล บรรเทาหวัด รวมถึงใช้น้ำมันกระเทียมเป็นยาทาภายนอกเพื่อรักษาอาการติดเชื้อทางผิวหนัง เล็บ หรือช่วยรักษาอาการผมร่วงได้อีกด้วย

 

โดยอาหารเสริมจากกระเทียมสามารถอยู่ในรูปใดดังนี้

1. น้ำมันกระเทียมผลิตจากการสกัดน้ำมันกระเทียมด้วยไอน้ำ โดยทั่วไปแล้วยาแคปซูลน้ำมันกระเทียมมักผสมน้ำมันพืช

เพื่อลดกลิ่นฉุนของน้ำมันกระเทียม

2. เนื้อกระเทียมแช่น้ำมัน ผลิตโดยนำกลีบกระเทียมแช่น้ำมันพืชแล้วนำมาบรรจุแคปซูล

3. กระเทียมป่น ผลิตโดยนำกระเทียมมาอบแห้งแล้วบดบรรจุขวด ใช้ปรุงอาหาร

4. สารสกัดกระเทียม ผลิตโดยใช้แอลกอฮอล์สกัดสารประกอบกระเทียม

 

ประโยชน์ของน้ำมันกระเทียม

1.ความดันโลหิตสูง

อัลลิซินในกระเทียมสดหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาการที่มีส่วนประกอบของกระเทียม อาจมีส่วนช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อเรียบที่เรียงตัวในหลอดเลือดและส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวและทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำลง โดยการทดลองชิ้นหนึ่งให้ผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตสูงโดยที่มีค่าความดันซิสโตลิก มากกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิตรปรอท รับประทานกระเทียมบ่มสกัด ในปริมาณ 960 มิลลิกรัม เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าค่าความดันซิสโตลิกลดต่ำลงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่รับประทานยา จึงอาจกล่าวได้ว่าการรับประทานกระเทียมบ่มสกัดอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ดี

2.แก้หวัด

 หลายคนมีความเชื่อว่ากระเทียมมีสมารถต้านเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อไวรัส และมีการนำมาใช้เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการหวัด ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ให้อาสาสมัครจำนวน 146 คน รับประทานสารสกัดจากกระเทียมชนิดเม็ดซึ่งประกอบไปด้วยสารอัลลิซินขนาด 180 มิลลิกรัม เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าในกลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากกระเทียมมีอาการเป็นหวัดจำนวน 24 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาที่มีราอาการเป็นหวัดจำนวนถึง 65 ครั้ง

3.ลดน้ำหนักและมวลไขมัน

ผู้ป่วยภาวะไขมันพอกตับ ที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ แต่มักมีสาเหตุมาจากโรคอ้วน โรคเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ซึ่งการรักษาด้วยการรับประทานยาอาจจะไม่เพียงพอ หากไม่ดูแลเรื่องการรับประทานอาหารควบคู่กันไปด้วย การรับประทานกระเทียมจึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะกระเทียมเป็นพืชสมุนไพรที่อุดมไปด้วยกำมะถันหรือซัลเฟอร์และสารอาหารอื่น ๆ ที่อาจมีคุณสมบัติป้องกันภาวะอ้วน ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยชิ้นหนึ่งที่ให้ผู้ป่วยไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุตั้งแต่ 20-70 ปี รับประทานกระเทียมผงชนิดแคปซูลขนาด 400 มิลลิกรัม ซึ่งภายในประกอบไปด้วยสารอัลซิลินขนาด 1.5 มิลลิกรัม โดยยังสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่รับประทานกระเทียมได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 2 กลีบ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า น้ำหนักและมวลร่างกายลดลง จึงอาจกล่าวได้ว่าการรับประทานกระเทียมอาจช่วยลดปริมาณไขมันในตับและป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์

4.ลดอาการภูมิแพ้

              การลดอาการภูมิแพ้มีหลากหลายวิธี เช่นการออกกำลังกาย การทานวิตามินซี หรือการใสมุนไพรอย่างเช่นกระเทียม เพราะในกระเทียมนั้นมีสาร อัลลิซิน ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานให้สร้างเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้นจึงส่งผลให้ช่วย

บระเทาและลดอาการภูมิแพ้ ฤทธิ์ของกระเทียมเปรียบเสมือนยาปฏิชีวนะช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัส จึงมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดอาการเรื้อรังทางระบบทางเดินหายใจ

 

ความปลอดภัยที่ควรคำนึงถึง

ถึงแม้ว่ากระเทียมจะถูกนำมาใช้ปรุงอาหารอย่างแพร่หลาย หากบริโภคกระเทียมมากเกินไป นอกจะทำให้กลิ่นปากฉุนแล้ว ยังสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น การแพ้กระเทียม อาการคลื่นไส้อาเจียน หรือปวดจุกลิ้นปี่ รวมทั้งท้องเสียได้ นอกจากนี้การศึกษาในสัตว์ ทดลองและมนุษย์ยังมีรายงานว่ากระเทียมเพิ่มอินซูลิน (insulin) ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้ กระเทียมสามารถทำปฎิกิริยากับยาหรือสารเคมีต่างๆ ในร่างกายได้ โดยเฉพาะยาต้านไวรัสเอช ไอ วี (antiretroviral agents) กระเทียมทำให้การแข็งตัวของเลือดลดลง จึงไม่แนะนำในสตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดและผู้ป่วยที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด กระเทียมอาจปนเปื้อนสารพิษจากแบคทีเรียบางชนิดได้ เช่น แบคทีเรียโบทูลินัม (Clostridium botulinum) ทำให้เกิดพิษเมื่อ รับประทานได้ นอกจากนี้ตัวกระเทียมเองยังมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคือง อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองทางเดินหายใจในผู้ป่วยหอบหืด  ทำให้อาการกำเริบ หรือกระตุ้นอาการปวดท้องในผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหาร รวมทั้งกระตุ้นการระคายเคืองผิวหนัง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้